![](https://static.wixstatic.com/media/267c03ba1f2745139b0ffecde60dd5ed.jpg/v1/fill/w_600,h_400,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/267c03ba1f2745139b0ffecde60dd5ed.jpg)
เบาหวาน
เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ไป โรคเบาหวานเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป ็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
อินซูลิน กับ เบาหวาน
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มเซลล์ภายในตับอ่อน มีหน้าที่ในการนำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างพลังงานและสร้างเซลล์ต่างๆ โดยปรกติแล้วเมื่อมีน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดตับอ่อนก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่ง อินซูลิน แล้วอินซูลินก็จะเข้าจับน้ำตาลเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งร่างกายมี อินซูลิน ไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ประเภทของ เบาหวาน
เบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น2ชนิด ได้แก่
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว และถ้ารุนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน(ketones) สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้หมดสติถึงตายได้
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีส่วนเกี่ยวกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว
นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด
การป้องกันการเป็นเบาหวาน
1. ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอันจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน
2. ควบคุมโภชนาการ ให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค
3. ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และ ระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสม
4. ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือ สมุนไพร เหล่านี้
สารอาหารสำหรับการป้องกันเบาหวานและผู้ป่วยเบาหวาน
- อะเซโรลา เชอร์รี่ ช่วยชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดรต และการดูดซึมกลูโคส การย่อยคาร์โบไฮเดรตนั้นจำเป็นต้องใช้เอนไซม์จากตับอ่อนและลำไส้เล็ก เพื่อย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และให้ร่างกายจะดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งหากสามารถทำการชะลอกระบวนการดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง ก็จะส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการทำการทดลองกับหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน พบว่าสามารถช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสได้
- กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid) มีหน้าที่หลักในเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้กลายเป็นพลังงาน โดยมีคุณสมบัติเสริมการออกฤทธิ์กับอินซูลิน โดยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนในการย่อยสลายน้ำตาลให้เป็นพลังงาน และทำลายอนุมูลอิสระที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคสภายในเซลล์ จึงมีผลในการลดระดับน้ำตาล และอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคเกี่ยวกับปลายประสาทอักเสบ, อาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า, ต้อกระจก ด้วยการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพดังกล่าว ทำให้หลายประเทศอนุมัติให้ ALA เป็นยารักษาโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน
- อาร์ติโชค (Artichoke) มีสารอินนูลิน ซึ่งเป็นแป้งในรูปแบบหนึ่ง ทำให้ย่อยยากกว่าปกติ จึงส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างช้าๆ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
- โครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ซึ่งโครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose tolerance factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโน อีกหลายชนิด จะไปช่วยกระตุ้นให้เซลล์ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ระดับน้ำตาลเข้าสู่ระดับปกติ เนื่องจาก โครเมียม ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยในการทำให้ glucose tolerance ดีขึ้น ดังนั้นการได้รับ โครเมียม จึงมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรค เบาหวาน ชนิดที่ 2 คนที่มีอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็มีอาการดีขึ้น เมื่อได้รับ โครเมียม 200 ไมโครกรัมต่อวัน
- สังกะสี ผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผลและติดเชื้อง่าย จะช่วยให้แผลที่เป็นนั้นหายเร็วขึ้นและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคด้วย แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน “ใยอาหาร” หรือ “อาหารมีเส้นใย” เพื่อช่วยดูดซับน้ำตาล แต่ขณะเดียวกันก็จะดูดซับ ซึ่งมีน้อยไปด้วย ทำให้ขาดธาตุ ได้
![](https://static.wixstatic.com/media/b8636c_b20a026f8f9945dba958040038879b27.png/v1/fill/w_122,h_122,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/b8636c_b20a026f8f9945dba958040038879b27.png)
![](https://static.wixstatic.com/media/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png/v1/crop/x_123,y_112,w_156,h_156/fill/w_45,h_45,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png)
![](https://static.wixstatic.com/media/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png/v1/crop/x_148,y_263,w_98,h_60/fill/w_52,h_32,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png)
![](https://static.wixstatic.com/media/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png/v1/crop/x_148,y_263,w_98,h_60/fill/w_52,h_32,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png)
![](https://static.wixstatic.com/media/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png/v1/crop/x_148,y_263,w_98,h_60/fill/w_52,h_32,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png)
![](https://static.wixstatic.com/media/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png/v1/crop/x_148,y_263,w_98,h_60/fill/w_52,h_32,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/b8636c_8191c43f4af34fec8804dd61637a861a.png)
![](https://static.wixstatic.com/media/b8636c_ea1d4b593abb411198d92aa4cdb74b39.png/v1/fill/w_599,h_338,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/b8636c_ea1d4b593abb411198d92aa4cdb74b39.png)