คอลลาเจนกับ
ข้อเข่าเสื่อม
เป็นโปรตีนที่สำคัญของร่างกาย เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของอวัยวะต่างๆ ที่เรารู้จักกันดีก็คือ ที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนัง แต่ที่จริงแล้วยังมีอีกหลายๆส่วนของร่างกายที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบหลัก พบในสัตว์ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เส้นเอ็น ผิวหนัง ข้อต่อ และกระดูกอ่อน โดย มี 28 ชนิด แต่ชนิดที่สำคัญในการสร้างเส้นใยและพบมากมี 5 ชนิด คือ
ชนิดที่ 1 เป็น ที่พบมากที่สุด 90% ของทั้งหมด พบที่ ผิวหนัง เอ็น กระดูก ข้อต่อ ผนังหลอดเลือด
ชนิดที่ 2 พบที่กระดูกอ่อน
ชนิดที่ 3 พบที่ผิวหนังที่เริ่มมีการสร้างใหม่ เช่น ผิวหนังที่เป็นแผลและเริ่มมีการสร้างคอลลาเจนใหม่ นอกจากนี้ยังพบที่เส้นเลือดและทางเดินอาหาร
ชนิดที่ 4 พบที่เยื่อหุ้มเซลล์
ชนิดที่ 5 พบได้ทั่วๆไป
ไม่ได้มีส่วนสำคัญแค่เรื่องสุขภาพผิวพรรณเพียงอย่างเดียว ยังมีส่วนสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของร่างกายที่ทุกคนถ้าอายุมากขึ้นจะต้องประสบ นั่นคือปัญหา“ข้อเข่าเสื่อม”
อาการของข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่หุ้มด้านในผิวสัมผัสระหว่างกระดูกขาช่วงล่างกับช่วงบน เกิดการสึกกร่อน เนื่องจากต้องแบกรับน้ำหนักของเรามานานนับสิบๆปี เมื่อสึกมากๆ ช่องว่างระหว่างข้อก็จะแคบลง ทำให้ส่วนปลายของกระดูกขาช่วงบนและช่วงล่างมาสัมผัสเสียดสีกันมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดขึ้น ในระยะแรกจะมีอาการติดขัด เวลาขยับมีเสียงกรอบแกรบในข้อ และอาการติดขัดนี้จะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามวัย และอาการปวดก็จะตามมา จากปวดน้อยๆก็กลายมาเป็นปวดมาก และเมื่อเป็นมากๆข้อส่วนด้านในจะสึกมากกว่าด้านนอก ทำให้กระดูกขาโก่ง
การรักษาในระยะแรกอาจใช้ยาทานแก้ปวด ซึ่งถ้าทานนานๆอาจมีผลกัดกระเพาะ และมีปัญหาเกี่ยวกับไตได้ ในรายที่มีอาการมากแพทย์จะช่วยให้ข้อลดการเสียดสีโดยการฉีดน้ำข้อเทียม ซึ่งราคาค่อนข้างสูงและในที่สุดแล้วก็จะต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อใหม่ สำหรับรายที่อาการเป็นมากจนไม่สามารถทนอยู่ได้อีกต่อไป
หนทางหนึ่งที่อาจเป็นวิธีช่วยป้องกันรักษาภาวะโรคข้อกระดูกเสื่อมได้คือ การรับประทาน เสริม เนื่องจากกระดูกอ่อนมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ชนิดที่ 2 (Collagen Type II) ซึ่งถ้าเราสามารถให้แหล่งอาหารที่เข้าไปเสริมสร้าง ชนิดนี้ หรือเสริมสร้างกระดูกอ่อน ก็จะช่วยให้อาการของข้อเสื่อมดีขึ้น และยังสามารถป้องกันการเสื่อมของข้อได้อีกด้วย
จากการวิจัยพบว่า Collagen Hydrolysate ที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย จะไปก่อให้เกิดการสร้าง ที่สำคัญคือ ชนิดที่ 2 ซึ่งเป็น กระดูกอ่อน ซึ่งมีผลทำให้เกิดการสร้างกระดูกอ่อนใหม่ขึ้น ทำให้ป้องกันหรือชะลอการเกิดข้อเสื่อมได้ และคนที่เป็นข้อเสื่อมอยู่แล้ว จะทำให้อาการของข้อเสื่อมดีขึ้น และนี่ก็เป็นอีกบทบาทหนึ่งของอาหารเสริมประเภท
กับการรักษาโรคข้อเสื่อม
คืออะไร?
คือโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ไกลซีน (Glycine)โพรลีน (Proline) และไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline) มีโครงสร้างแตกต่างกันตามชนิดของ สำหรับ ที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อมจะเป็น ชนิดที่ 2 (collagen Type II) ซึ่งมีความสำคัญในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนบริเวณข้อมากกว่า ชนิดอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบัน มีการนำ มาผ่านการย่อยให้ขนาดโมเลกุลของ เล็กลง ทำให้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ช่วยโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร
ผลการวิจัยและทดลองทางคลินิคมานานกว่า 20 ปี พบว่า การรับประทาน มีผลดีต่อโรคข้อเสื่อม เนื่องจากเป็น ชนิดเดียวกับที่พบในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์กระดูกอ่อนที่สึกกร่อนไป และกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ Osteoblast ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก จึงช่วยเพิ่มมวลกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเซลล์ Chondrocyte ในกระดูกอ่อน ทำให้ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวราบรื่นขึ้น จึงช่วยให้
- ลดอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ
- ข้อมีความยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
- ลดการใช้ยาแก้ปวด และยาต้านการอักเสบ
จากผลการทดลองของ Oesser et al. ที่ลงตีพิมพ์ใน Journal of Nutrition 129: 1891-95 ; 1999 พบว่า การรับประทาน จะไปทดแทน ให้แก่เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่ถูกทำลายไปได้
และการทดลองต่อมา ตีพิมพ์ใน Cell & Tissue Research 311:393-9; March 2003 พบว่า การรับประทาน ยังสามารถไปกระตุ้นให้เซลล์กระดูกอ่อนมีการสร้าง เพิ่มขึ้นที่กระดูกอ่อนด้วย
การเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับประทาน
ในรายที่ข้อเสื่อม มีอาการข้อยึดหรือเคลื่อนไหวไม่สะดวก และปวด การทาน วันละ 10 กรัม จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง คืออาการปวด ข้อยึดน้อยลงได้ภายในเวลา 6 – 12 สัปดาห์
ควรรับประทาน อย่างไร
สำหรับคนที่เป็นโรคข้อเสื่อม ควรรับประทานวันละ 10 กรัม อย่างน้อย 3 เดือน ส่วนผู้ที่ต้องการรับประทานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อ ควรรับประทานอย่างน้อยวันละ 5-7 กรัม
การรับประทาน มีความปลอดภัยหรือไม่
สารตัวนี้เป็นโปรตีนซึ่งจัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยาจึงมีความปลอดภัยสูง สามารถรับประทานได้ทั่วไป ยกเว้นผู้ป่วยโรคไตที่ต้องการจำกัดโปรตีนที่ไม่ควรใช้
นอกจากผู้ที่มีปัญหาเรื่องข้อเสื่อมแล้ว ยังมีประโยชน์อื่นอีกหรือไม่
ประโยช์ของ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนแล้ว ในผู้ที่มีปัญหากระดูกพรุน เช่น ในผู้หญิงวัยทอง ที่จำเป็นต้องเสริมแคลเซียม และใช้ยาที่ป้องกันการสลายของแคลเซียมจากกระดูก เมื่อรับประทานแคลเซียมร่วมด้วย พบว่ามีผลทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และลดการสลายแคลเซียมจากกระดูกได้ดีกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว ส่วนประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับในผู้ที่รับประทาน คือ ทำให้เส้นผมหนาขึ้น ผิวและเล็บแข็งแรงขึ้น